สมาชิกสภา
เทศบาลตำบลสระโบสถ์

อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
         ปกติสภาเทศบาลจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. อำนาจในการตราเทศบัญญัติ 
         เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้
                  1. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
                  2. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้อำนาจตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้นๆ

         สำหรับการพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี ถือว่าเป็นการใช้อำนาจสูงสุดในการควบคุม ถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลแล้ว นั่นหมายถึงว่าคณะเทศมนตรีสิ้นสุดในหน้าที่ (เพราะการไม่เห็นด้วยของเทศบาลมีความหมายถึงการไม่ยอมรับของประชาชนในท้อง ถิ่นด้วย) โดยมีเงื่อนไขที่น่าสังเกตว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเห็นชอบด้วย และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยนั้น การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าจะ ดำเนินการอย่างไร

         ส่วนในการตราข้อบัญญัติทั่วไปจะมีหลักการคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าร่างดังกล่าวจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย

2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร

         สภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม ระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้ โดยมีมาตรการควบคุมที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการ

                  2.1 การตั้งกระทู้ถาม ( มาตรา 31 พ.ร.บ เทศบาล ฯ)
                  สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามในข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้  ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร  หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทำใดๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่นหรือประชาชนในท้องถิ่น นั้น ทั้งนี้นายกเทศมนตรี จะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้วจะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสีย ประโยชน์ที่สำคัญของเทศบาล

                  2.2 การอนุมัติงบประมาณประจำปี
                  ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีต่อไป นายกเทศมนตรีจะต้องเสนอ งบประมาณประจำปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้ว จึงจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ การที่กำหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้ว ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผลทำให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง ไป

3. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล

         เพื่อที่จะให้การดำเนินงานต่างๆ ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สภาเทศบาลมีอำนาจที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทำ  ซึ่งคณะกรรมการที่สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  3.1 คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล  ไม่น้อยกว่า 3 คน  แต่ไม่เกิน 7 คน
                  3.2 คณะกรรมการวิสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  ไม่น้อยกว่า 3 คน  แต่ไม่เกิน 7 คน

         คณะกรรมการสภาเทศบาล
                           1. คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม
                           2. คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติ
                           3. คณะกรรมการอื่นๆ ที่สภาท้องถิ่นเห็นสมควร
                           4. ภารกิจของเทศบาลที่กฎหมายกำหนดต้องได้รับการอนุมัติจากสภาเทศบาล
                                    4.1. ตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ
                                             4.1.1. สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ของประธานสภาฯ  รองประธานสภา หากเห็นว่า ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ , ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ,ประพฤติไม่ชอบ               
                                             4.1.2. การยินยอมให้ทำกิจการนอกเขต
                                             4.1.3. การกู้เงินของเทศบาล
                                    4.2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินฯ
                                             4.2.1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน ยืมเงินสะสม
                                             4.2.2. การกันเงิน ในกรณีรายจ่ายหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน    
                                    4.3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ฯ
                                             4.3.1. การโอนงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
                                             4.3.2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

          *ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งจะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (มาตรา 17)
          *สมาชิกสภาเทศบาลย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลนั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ (มาตรา 18)
          *สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมใน สัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้นหรือ ที่เทศบาลนั้นจะกระทำ (มาตรา 18 ทวิ)

นายพอ ทองใส

ประธานสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0877665390

นายรุ่ง มังกรทอง

รองประธานสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0865228801

นายสมปอง ทนหมี

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0985652347

นายพุด จันทร์อับ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 036439091

นายพรชัย นวนอำไพ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0895515230

นางสุปราณี โพธิ์ยุทธนาสถิตย์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0613365931

นายยัน ปิ่นทองคำ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0884609332

นายเปี๊ยก มังกรทอง

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0804314107

นายสมพงษ์ ชูเชิด

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 036439249

นายสมภพ แก้วอ่อง

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0927438001

นายธนวัฒน์ สร้อยพูล

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร 0809146332

นายพชรพล พรมไทย

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสระโบสถ์

โทร xxxxxxxxxx